Microsoft เผยแพร่ Patch Tuesday ประจำเดือนมิถุนายน 2024 แก้ไขช่องโหว่ 51 รายการ และเป็นช่องโหว่ RCE 18 รายการ

Microsoft ได้เผยแพร่ Patch Tuesday ประจำเดือนมิถุนายน 2024 ซึ่งประกอบด้วยการอัปเดตแพตซ์ความปลอดภัยสำหรับช่องโหว่ 51 รายการ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (RCE) 18 รายการ และเป็นช่องโหว่ Zero-day 1 รายการ คือช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (RCE) ใน Microsoft Message Queuing (MSMQ)

จำนวนช่องโหว่ในแต่ละหมวดหมู่มีดังต่อไปนี้ :

  • ช่องโหว่การยกระดับสิทธิ์ (privilege escalation) 25 รายการ
  • ช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (Remote Code Execution) 18 รายการ
  • ช่องโหว่ในการเปิดเผยข้อมูล (Information Disclosure) 3 รายการ
  • ช่องโหว่การปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service) 5 รายการ

ทั้งนี้ช่องโหว่ทั้ง 51 รายการ ยังไม่รวมช่องโหว่ของ Microsoft Edge 7 รายการที่ได้รับแก้ไขไปแล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2024

ช่องโหว่ Zero-day

ทั้งนี้ Patch Tuesday ประจำเดือนมิถุนายน 2024 มีช่องโหว่ Zero-day หนึ่งรายการหมายเลข CVE-2023-50868 NSEC3 closest encloser proof can exhaust CPU ซึ่งเป็นช่องโหว่ในการตรวจสอบความถูกต้องของ DNSSEC ซึ่งทำให้ Hacker สามารถใช้ประโยชน์จาก standard DNSSEC protocol ที่มีจุดประสงค์เพื่อความสมบูรณ์ของ DNS โดยการใช้ resources ที่มากเกินไปบน resolver ทำให้เกิด denial of service(DoS) กับผู้ใช้งาน

โดยช่องโหว่ดังกล่าวถูกเปิดเผยมาก่อนหน้านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 และได้รับการแก้ไขไปแล้วใน DNS อื่น ๆ เช่น BIND, PowerDNS, Unbound, Knot Resolver และ Dnsmasq

นอกจากนี้ Patch Tuesday ประจำเดือนมิถุนายน 2024 ยังมีการแก้ไขช่องโหว่อื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลของ Microsoft Office หลายรายการ รวมถึง Microsoft Outlook RCEs ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จากช่องโหว่ใน preview pane รวมถึงช่องโหว่ในการยกระดับสิทธิ์ Windows Kernel 7 รายการที่อาจทำให้ Hacker ที่เข้าถึงเครื่องได้ ได้รับสิทธิ์ SYSTEM

การแก้ไขช่องโหว่ของบริษัทอื่น ๆ

นอกจากนี้ยังมีการออกแพตซ์แก้ไขช่องโหว่ของบริษัทอื่น ๆ ในเดือนมิถุนายน 2024 ได้แก่ :

  • Apple แก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 21 รายการในรุ่น VisionOS 1.2
  • ARM แก้ไขช่องโหว่ที่ถูกโจมตีอย่างต่อเนื่องใน Mali GPU kernel drivers
  • Cisco แก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยสำหรับ Cisco Finesse และ Webex
  • Cox แก้ไขช่องโหว่ API auth bypass ที่ส่งผลกระทบต่อ modem หลายล้านอุปกรณ์
  • F5 อัปเดตความปลอดภัยสำหรับช่องโหว่ BIG-IP Next Central Manager API ที่มีระดับความรุนแรงสูง 2 รายการ
  • PHP แก้ไขช่องโหว่ RCE ระดับ Critical ซึ่งกำลังถูกใช้ในการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์
  • TikTok แก้ไขช่องโหว่ Zero-day และ Zero-Click ที่ถูกโจมตีในฟีเจอร์ Direct Message
  • VMware แก้ไขช่องโหว่ Zero-day 3 รายการ ที่ถูกโจมตีที่ Pwn2Own 2024
  • Zyxel ออกอัปเดตแก้ไขช่องโหว่ RCE ฉุกเฉินสำหรับอุปกรณ์ NAS ที่หมดอายุการใช้งานไปแล้ว (EoL)

ที่มา : www.bleepingcomputer.com