ช่องโหว่ระดับ Critical ใน GitHub ทำให้ Repositories มากกว่า 4,000 รายการถูกโจมตีด้วยวิธีการ Repojacking

พบช่องโหว่ใหม่ใน GitHub อาจทำให้ repositories หลายพันรายการเสี่ยงต่อการถูกโจมตีด้วยวิธีการ Repojacking

จากรายงานของ Elad Rapoport นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Checkmarx ที่แชร์กับ The Hacker News ระบุว่า ช่องโหว่นี้อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์จาก race condition ในการดำเนินการสร้าง repository และเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ของ GitHub
(more…)

W3LL phishing kit โจมตีบัญชี Microsoft 365 นับพันบัญชีด้วยการ bypasses MFA

แฮ็กเกอร์ที่รู้จักกันในชื่อ W3LL ได้พัฒนาชุดเครื่องมือฟิชชิงที่สามารถ bypass multi-factor authentication พร้อมกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่ทำให้สามารถโจมตีบัญชี Microsoft 365 ขององค์กรมากกว่า 8,000 บัญชี

ในระยะเวลา 10 เดือน นักวิจัยด้านความปลอดภัยพบว่าเครื่องมือ และโครงสร้างพื้นฐานของ W3LL ถูกใช้ในการสร้างฟิชชิงประมาณ 850 ครั้ง ซึ่งกำหนดเป้าหมายไปที่ข้อมูลส่วนบุลคลของบัญชี Microsoft 365 มากกว่า 56,000 บัญชี

การเติบโตของธุรกิจ

ผู้โจมตีอย่างน้อย 500 รายได้ใช้เครื่องมือฟิชชิ่งแบบ custom ของ W3LL ในการโจมตีแบบ Business Email Compromise (BEC) ทำให้เกิดความสูญเสียทางการเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

นักวิจัยระบุว่า W3LL ครอบคลุมเกือบทั้งหมดสำหรับการโจมตีแบบ BEC และสามารถใช้งานได้โดย "ผู้โจมตีที่มีทักษะทางเทคนิคในทุกระดับ"

ในรายงานจากบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Group-IB ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ W3LL ที่กลายมาเป็นหนึ่งในนักพัฒนามัลแวร์ขั้นสูงสำหรับกลุ่มผู้โจมตีที่มักใช้วิธี BEC

หลักฐานแรกในการดำเนินการของ W3LL ถูกพบครั้งแรกในปี 2017 เมื่อผู้พัฒนาเริ่มใช้เครื่องมือ custom สำหรับการส่งอีเมลจำนวนมากที่ชื่อว่า "W3LL SMTP Sender" ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งสแปม

ความนิยม และธุรกิจของกลุ่มแฮ็กเกอร์เริ่มเติบโตขึ้นเมื่อเริ่มมีการขายชุดเครื่องมือฟิชชิงแบบ custom ที่มุ่งเน้นไปที่บัญชีองค์กรของ Microsoft 365

นักวิจัยระบุว่า ในปี 2018 W3LL ได้เปิดตัว W3LL Store ซึ่งเป็นตลาดภาษาอังกฤษที่สามารถโปรโมต และขายเครื่องมือของตนให้กับ community ของอาชญากรทางไซเบอร์

"เครื่องมือหลักของ W3LL คือ W3LL Panel ซึ่งอาจถือเป็นหนึ่งในชุดเครื่องมือสำหรับการโจมตีแบบฟิชชิงที่ล้ำสมัยที่สุดในระดับเดียวกัน โดยมีฟังก์ชันการทำงานแบบ adversary-in-the-middle, API, การป้องกันซอร์สโค้ด และความสามารถเฉพาะทางอื่น ๆ"

ชุดเครื่องมือของ W3LL สำหรับการโจมตีแบบ BEC

นอกจาก W3LL Panel ซึ่งถูกออกแบบเพื่อ bypass multi-factor authentication (MFA) ผู้โจมตียังมีเครื่องมืออีก 16 รายการที่เตรียมไว้สำหรับการโจมตี BEC (Business Email Compromise) รวมถึง:

SMTP senders PunnySender และ W3LL Sender
เครื่องมือ link stager ที่เป็นอันตรายชื่อ W3LL Redirect
เครื่องมือสแกนช่องโหว่ชื่อ OKELO
เครื่องมือค้นหาบัญชีอัตโนมัติชื่อ CONTOOL
โปรแกรมตรวจสอบอีเมลชื่อ LOMPAT
สำหรับการโจมตี BEC มีขั้นตอนเริ่มต้นที่การเลือกเป้าหมาย, การโจมตีแบบฟิชชิงผ่านอีเมลที่ที่มีไฟล์แนบ (ค่าเริ่มต้น หรือปรับแต่งเองได้), ไปจนถึงการส่งอีเมลฟิชชิงเข้าไปในกล่องจดหมายของเหยื่อ

นักวิจัยระบุว่า W3LL เชี่ยวชาญมากพอที่จะปกป้องเครื่องมือของตนจากการถูกตรวจจับ หรือปิดกั้นได้ โดยการนำไปใช้งานบนโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ และบริการที่โจมตีมาอีกที

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานยังมีตัวเลือกในการใช้เครื่องมือสแกน OKELO ของ W3LL เพื่อค้นหาระบบที่มีช่องโหว่ และเข้าถึงระบบได้ด้วยตนเอง

Bypassing filters และ security agents

บางเทคนิคที่ W3LL ใช้ คือการ bypass email filters และ security agents รวมถึงปลอมแปลงหัวเรื่องอีเมล และเนื้อหาในข้อความ (Punycode, แท็ก HTML, รูปภาพ, ลิงก์ที่มีเนื้อหาจากภายนอก)

phishing links ใช้วิธีการหลายอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ หนึ่งในนั้นคือการแนบไฟล์ฟิชชิง แทนที่จะฝังไว้ในเนื้อหาของอีเมล

นักวิจัยพบว่าลิงก์นั้นถูกวางไว้ในไฟล์ HTML ที่แนบมา เมื่อเหยื่อเปิดไฟล์ HTML ที่เป็นอันตรายซึ่งอาจปลอมเป็นเอกสาร หรือข้อความเสียง เบราว์เซอร์จะเปิดขึ้นพร้อมกับการแสดงผลที่คล้ายกับ MS Outlook animation

ซึ่งนี่คือ W3LL Panel phishing page ที่พร้อมใช้งานสำหรับการเก็บข้อมูลของบัญชี Microsoft 365

ในการวิเคราะห์ไฟล์แนบจากการโจมตีแบบฟิชชิงจาก W3LL ที่พบ Group-IB ได้สังเกตว่าเป็นไฟล์ HTML ที่แสดงเว็ปไซต์ใน iframe โดยใช้ JavaScript ที่ถูกเข้ารหัส base64

ในเวอร์ชันใหม่ล่าสุด ซึ่งอัปเดตในช่วงปลายเดือนมิถุนายน W3LL ได้เพิ่ม การสร้างความสับสน และการเข้ารหัสแบบ multiple layers โดยจะโหลดสคริปต์โดยตรงจาก W3LL Panel แทนที่จะรวมไว้ในโค้ด HTML

ลำดับการทำงานสำหรับเวอร์ชันล่าสุดมีลักษณะดังนี้ :

การโจมตีบัญชีองค์กร Microsoft 365

นักวิจัยของ Group-IB อธิบายว่าลิงก์เริ่มต้นในการโจมตีฟิชชิงไม่ได้นำไปสู่หน้าการเข้าสู่ระบบ Microsoft 365 ที่ถูกปลอมแปลงใน W3LL Panel การเชื่อมต่อลักษณะดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันการตรวจสอบหน้าฟิชชิงของ W3LL Panel

เพื่อที่ W3LL จะโจมตีบัญชี Microsoft 365 นั้นจะใช้เทคนิค Adversary/Man-in-the-middle (AitM/MitM) โดยการเชื่อมต่อระหว่างเหยื่อ และเซิร์ฟเวอร์ของ Microsoft จะผ่าน W3LL Panel และ W3LL Store ที่ทำหน้าที่เป็นระบบ backend

เป้าหมายคือการได้มาซึ่งคุกกี้เซสชันการ authentication ของเหยื่อ สำหรับวิธีนี้ W3LL Panel จำเป็นต้องดำเนินการหลายขั้นตอน ซึ่งรวมถึง:

ผ่านการตรวจสอบ CAPTCHA
ตั้งค่าหน้าการเข้าสู่ระบบที่ปลอมแปลงให้เหมือนจริง
ตรวจสอบบัญชีของเหยื่อ
ได้มาซึ่งอัตลักษณ์ขององค์กรเป้าหมาย (เช่น ชื่อแบรนด์, โลโก้ฯ)
รับคุกกี้สำหรับการเข้าสู่ระบบ
ระบุประเภทของบัญชี
ตรวจสอบรหัสผ่าน
รับรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (OTP)
รับคุกกี้เซสชันที่ผ่านการ authentication
หลังจากที่ W3LL Panel ได้รับคุกกี้เซสชันที่ผ่านการ authentication แล้ว บัญชีจะถูกเข้าถึงได้ และเหยื่อจะเห็นเอกสาร PDF เพื่อทำให้ดูเหมือนการเข้าสู่ระบบนั้นถูกต้อง

ขั้นตอนการค้นหาบัญชี

เมื่อใช้ CONTOOL ผู้โจมตีสามารถทำให้การค้นหาอีเมล, เบอร์โทรศัพท์, ไฟล์แนบ, เอกสาร, หรือ URL ที่เหยื่อใช้โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจช่วยในการโจมตีไปยังระบบอื่น ๆ

เครื่องมือนี้ยังสามารถตรวจสอบ กรอง และแก้ไขอีเมลที่เข้ามาได้ รวมทั้งรับการแจ้งเตือนผ่านบัญชี Telegram โดยขึ้นอยู่กับ keywords ที่ระบุไว้

ตามรายงานของ Group-IB ผลลัพธ์ทั่วไปของการโจมตีคือ :

การขโมยข้อมูล
ใบแจ้งหนี้ปลอมที่มีข้อมูลการชำระเงินของผู้โจมตี
การปลอมตัวเป็นบริการเพื่อส่งคำขอชำระเงินปลอมให้กับลูกค้า
Classic BEC fraud - เพื่อเข้าถึงผู้บริหารระดับสูง และดำเนินการเพื่อสั่งให้พนักงานโอนเงิน หรือซื้อสินค้า
แพร่กระจายมัลแวร์
การทำเงินของกลุ่ม W3LL

รายงานของ Group-IB ได้ศึกษาลึกลงไปในฟังก์ชันของ W3LL Panel โดยอธิบายในระดับเทคนิคว่าคุณสมบัติบางอย่างทำงานอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นการหลบเลี่ยงการตรวจจับ หรือการรวบรวมข้อมูล

โดยเป็นส่วนสำคัญที่มีค่าแก่ผู้พัฒนา และมีราคา 500 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับการใช้งานระยะเวลา 3 เดือน และราคาต่ออายุ 150 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน ซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องซื้อ license เพื่อเปิดใช้งานด้วยอีกด้วย

กลุ่มผู้โจมตี W3LL ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว และมีแฮ็กเกอร์ใช้งานมากกว่า 500 คน โดยมีฟีเจอร์ให้เลือกใช้งานมากกว่า 12,000 รายการ

นอกจากเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีด้วยฟิชชิ่ง และ BEC ที่กล่าวมาแล้ว W3LL ยังให้บริการเข้าถึงบริการเว็ปไซต์ที่ถูกโจมตี (web shell, อีเมล, ระบบการจัดการเนื้อหา) และเซิร์ฟเวอร์ SSH และ RDP, บัญชีโฮสติ้ง และบริการคลาวด์, โดเมนอีเมลธุรกิจ, บัญชี VPN, และบัญชีอีเมลที่ถูกยึดครอง (hijacked email accounts) ให้บริการอีกด้วย

นักวิจัยจาก Group-IB รายงานว่า ระหว่างเดือนตุลาคม ปี 2022 ถึงกรกฎาคม ปี 2023 W3LL ขายเครื่องมือนี้ได้มากกว่า 3,800 รายการ โดยมีรายได้โดยประมาณมากกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : bleepingcomputer

‘MalDoc in PDF’ มัลแวร์ที่ซ่อนเอกสาร Word ที่เป็นอันตรายในไฟล์ PDF

ทีมตอบสนองเหตุภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ของญี่ปุ่น (JPCERT) แชร์รูปแบบการโจมตี 'MalDoc in PDF' รูปแบบใหม่ที่ตรวจพบในเดือนกรกฎาคม 2023 ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการตรวจจับได้โดยการฝังไฟล์ Word ที่เป็นอันตรายลงในไฟล์ PDF

ไฟล์ตัวอย่างที่ถูกวิเคราะห์โดย JPCERT เป็นไฟล์ polyglot ที่เครื่องมือการสแกนส่วนใหญ่รู้จักในรูปแบบ PDF แต่แอปพลิเคชัน Office ก็สามารถเปิดเป็นเอกสาร Word ปกติ (.doc) ได้

Polyglots เป็นไฟล์ที่มีรูปแบบไฟล์ที่แตกต่างกันสองรูปแบบ ซึ่งสามารถตีความ และดำเนินการเป็นไฟล์ได้มากกว่าหนึ่งประเภท ขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชันที่อ่าน/เปิดไฟล์เหล่านั้น

ตัวอย่างเช่น เอกสารที่เป็นอันตรายในแคมเปญนี้เป็นการผสมระหว่างไฟล์ PDF และ Word documents ซึ่งสามารถเปิดได้ในทั้งรูปแบบไฟล์ทั้งสอง

โดยทั่วไปแล้วผู้โจมตีใช้ polyglots เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ หรือทำให้เครื่องมือวิเคราะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากไฟล์เหล่านี้อาจดูเหมือนไม่มีความอันตรายในรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่ซ่อน code ที่เป็นอันตรายในอีกรูปแบบหนึ่งได้

ในกรณีนี้ PDF document ประกอบด้วย Word document ที่มี VBS macro เพื่อดาวน์โหลด และติดตั้งไฟล์มัลแวร์ MSI หากไฟล์ถูกเปิดในรูปแบบ .doc ใน Microsoft Office อย่างไรก็ตาม Japan CERT ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของมัลแวร์ที่ถูกติดตั้ง

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า MalDoc ในรูปแบบ PDF ไม่สามารถ bypass การตั้งค่าความปลอดภัยที่ปิดการทำงานอัตโนมัติของ macros บน Microsoft Office ได้ ดังนั้นมาตรการนี้ของ Microsoft Office ยังถือว่าเพียงพอในการป้องกันการโจมตี ซึ่งหาก MalDoc จะทำงานได้ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องปิดการตั้งค่าความปลอดภัยด้วยตนเองโดยการคลิกที่ปุ่มที่เกี่ยวข้อง หรือยกเลิกการบล็อกไฟล์

JPCERT ได้เผยแพร่วิดีโอต่อไปนี้บน YouTube เพื่อสาธิตว่า MalDoc ในรูปแบบไฟล์ PDF ทำงานบน Windows อย่างไร

ตัวอย่าง MalDoc ในรูปแบบ PDF : hxxps://www[.]youtube.

แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จาก Windows Container Isolation Framework เพื่อ Bypass Endpoint Security

ข้อมูลที่ถูกพบล่าสุดแสดงให้เห็นว่าผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์จากเทคนิคการหลบเลี่ยงการตรวจจับมัลเเวร์ และ bypass endpoint security solutions โดยการปรับเเต่ง Windows Container Isolation Framework

การค้นพบนี้ถูกนำเสนอโดย Daniel Avinoam นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Deep Instinct ในการประชุมด้านความปลอดภัย DEF CON ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

โครงสร้างของ Microsoft container (และที่เกี่ยวข้องกับ Windows Sandbox) ใช้สิ่งที่เรียกว่า dynamically generated image เพื่อแยก file system ของแต่ละ container ไปยังโฮสต์ และในเวลาเดียวกันจะหลีกเลี่ยงการทำซ้ำของ file system

โดยมันเป็นเพียง "operating system image ที่มี clean copies ของไฟล์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่เป็นลิงก์ไปยังไฟล์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ซึ่งอยู่ในอิมเมจ Windows ที่มีอยู่แล้วบนโฮสต์" จึงทำให้ขนาดโดยรวมของระบบปฏิบัติการเต็มลดลง

Avinoam ระบุในรายงานที่แชร์กับ The Hacker News ว่า "ผลลัพธ์ที่ได้คือ images ที่มี 'ghost files' ซึ่งไม่ได้เก็บข้อมูลจริง แต่จะชี้ไปยัง volume ที่แตกต่างกันของระบบ" ในจุดนี้จึงทำให้เกิดความคิดว่า จะเป็นอย่างไรถ้าสามารถใช้ redirection mechanism เพื่อซ่อนรายละเอียดกับ file system operation และทำให้เครื่องมือด้านความปลอดภัยไม่สามารถตรวจจับได้

นี่คือจุดที่ไดรเวอร์ minifilter ของ Windows Container Isolation FS (wcifs.

ช่องโหว่ระดับ critical ใน VMware Aria สามารถ bypass SSH authentication ได้

พบช่องโหว่ระดับ critical ใน VMware Aria Operations for Networks (เดิมเรียกว่า vRealize Network Insight) ซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีจากภายนอกสามารถ bypass SSH authentication และเข้าถึง private endpoints ได้

VMware Aria เป็นชุดโปรแกรมสำหรับการจัดการ และตรวจสอบ virtualized environments และ hybrid clouds, IT Automation, การจัดการ log, การสร้างข้อมูลวิเคราะห์, Network visibility, การรักษาความปลอดภัย และจัดสรรการวางแผนการใช้ทรัพยากร และการจัดการขอบเขตการทำงานทั้งหมด

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา VMware ได้เผยแพร่คำเตือนด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับช่องโหว่ที่ส่งผลกระทบต่อ Aria เวอร์ชัน 6.x ทั้งหมด

ช่องโหว่ดังกล่าวถูกพบโดยนักวิเคราะห์จาก ProjectDiscovery Research ซึ่งมีหมายเลข CVE-2023-34039 และได้รับ CVSS v3: 9.8 ซึ่งถือว่าเป็นช่องโหว่ระดับ "critical"

"การแจ้งเตือนจาก VMware เกี่ยวกับช่องโหว่นั้นระบุว่า Aria Operations for Networks มีช่องโหว่ในการ Authentication Bypass เนื่องจากขาดการสร้าง Unique cryptographic key"

ผู้โจมตีที่เข้าถึงเครือข่ายไปยัง Aria Operations for Networks อาจสามารถ bypass SSH authentication เพื่อเข้าถึง Aria Operations for Networks CLI ได้

การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2023-34039 อาจส่งผลให้เกิดการถูกขโมยข้อมูล, การแก้ไขข้อมูลผ่าน command line interface ของบริการ และอาจส่งผลให้เกิดความขัดข้องในระบบเครือข่าย, การแก้ไขการกำหนดค่า, การติดตั้งมัลแวร์ และการโจมตีต่อไปยังระบบอื่น ๆ ภายในเครือข่าย ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าไว้บนระบบ

VMware ยังไม่ได้ให้คำแนะนำ หรือการแก้ไขปัญหาชั่วคราวในกรณีที่ยังไม่สามารถอัปเดตได้ ดังนั้นวิธีการเดียวในการแก้ไขช่องโหว่ คือการอัปเกรดเป็นเวอร์ชัน 6.11 หรือใช้แพตช์ KB94152 บนเวอร์ชันก่อนหน้านี้

ช่องโหว่ที่สองที่มีความรุนแรงระดับ high (CVSS v3: 7.2) ได้รับการแก้ไขโดยแพตช์เดียวกันคือ CVE-2023-20890 ซึ่งเป็นช่องโหว่เกี่ยวกับการเขียนไฟล์ที่ไม่เกี่ยวข้อง อาจทำให้ผู้โจมตีที่มีสิทธิ์ administrative สามารถสั่งรันโค้ดจากระยะไกลได้

เนื่องจากซอฟต์แวร์นี้มักถูกใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ แฮ็กเกอร์จึงอาจใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบได้

ในเดือนมิถุนายน 2023 VMware ได้แจ้งเตือนผู้ใช้งานเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2023-20887 ซึ่งเป็นช่องโหว่ในการเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลที่ส่งผลกระทบต่อ Aria Operations for Networks

มีการ Scan และค้นหาช่องโหว่ภายในหนึ่งสัปดาห์ หลังจากที่ VMware ออกอัปเดตแพตซ์ความปลอดภัย และเพียงสองวันหลังจากที่มีการเผยแพร่ PoC (proof of concept) ออกมา

ที่มา : bleepingcomputer

กลุ่มแฮกเกอร์ FIN7 ใช้เอกสารอันตรายที่หลอกว่าเป็น ‘Windows 11 Alpha’ เพื่อวาง JavaScript Backdoor

การโจมตีจะเริ่มต้นด้วยฟิชชิ่งอีเมล หรือแคมเปญสเปียร์ฟิชชิ่งที่มีเอกสาร Microsoft Word ที่เป็นอันตราย (.doc) พร้อมด้วยรูปภาพหลอกลวงที่ระบุว่าเป็น Windows 11 Alpha

เมื่อเหยื่อเปิดใช้งานฟังก์ชันการแก้ไขเนื้อหา (Enable Editing and Content) ก็จะเข้าสู่กระบวนการติดตั้ง โดยไฟล์ที่ฝังอยู่กับรูปภาพนั้นคือ VBA macro เมื่อเหยื่อเปิดใช้งานเนื้อหา VBA macro ก็จะทำงานทันที

VBA macro ประกอบไปด้วยข้อมูลขยะมากมาย เป็นกลยุทธ์ทั่วไปที่แฮกเกอร์ใช้เพื่อขัดขวางการวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อดึงข้อมูลขยะออกแล้วจะเหลือเพียง VBA macro เมื่อวิเคราะห์ JavaScript เพิ่มเติมนักวิจัยได้พบว่ามี Strings ที่ซับซ้อนควบคู่ไปกับฟังก์ชันการถอดรหัสที่ซับซ้อน

นักวิจัยพบว่าแฮกเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังแคมเปญนี้ สั่งให้การโจมตีนี้ไม่ทำงานสำหรับบางประเทศ ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน ซอร์เบีย สโลวีเนีย เอสโตเนีย ซึ่งหากตรวจพบภาษาเหล่านี้ จะเรียกใช้ฟังก์ชัน me2XKr เพื่อหยุดการทำงาน

กลุ่ม FIN7 จะมุ่งเป้าการโจมตีไปที่ ภาคโทรคมนาคม การศึกษา การค้าปลีก การเงิน และการบริการในสหรัฐฯ ผ่านการโจมตีที่สร้างขึ้นอย่างตั้งใจ

นอกจากนี้ FIN7 ยังหาวิธีการหลีกเลี่ยงการตรวจจับ และบังคับใช้กฎหมายเพื่อเอาผิดพวกเขา โดยการใช้เทคนิคขั้นสูง และแปลกใหม่เพื่อขัดขวางการตรวจจับอยู่ตลอดเวลา

ในบางครั้งพบว่ากลุ่มนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า Carbanak และมีการเพิ่มกลยุทธ์การสร้างรายได้ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งทำให้กลุ่มของ FIN7 สามารถขยายผลกระทบของการโจมตีได้ ส่งผลให้แฮกเกอร์กลุ่มนี้มีความได้เปรียบในการแข่งขันกับกลุ่มอื่น ๆ และยังสามารถกำหนดเป้าหมายไปยังอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้

แม้ว่า FIN7 จะมีเทคนิคที่โดดเด่นในการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตจำนวนมาก แต่ความทะเยอทะยานของพวกเขาไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการขโมยข้อมูลบัตรเครดิต เพราะในขณะที่ปัจจุบันมีการเข้ารหัสแบบ end-to-end encryption (E2EE) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจมตี หรือแฮกเกอร์ได้ข้อมูลบัตรเครดิตไปได้โดยง่าย พวกเขาจึงหันไปโจมตีแผนกการเงินขององค์กรเป้าหมายแทน

จากการวิเคราะห์ของ Anomali Threat Research ที่ลงไว้เมื่อ 2 กันยายน พ.ศ. 2564 กล่าวว่า "การกำหนดเป้าหมายเฉพาะของโดเมน Clearmind ดูจะเป็นวิธีการทำงานที่ FIN7 ต้องการ" "เป้าหมายของกลุ่มคือการใช้แบ็คดอร์ในรูปแบบ JavaScript ที่คาดว่า FIN7 น่าจะใช้มาตั้งแต่ปี 2561

ที่มา : ehackingnews

43% ของมัลแวร์ถูกดาวน์โหลดผ่าน Malicious ไฟล์ของ Microsoft Office

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 พบว่าประมาณ 38% ของมัลแวร์ที่ดาวน์โหลดได้ทั้งหมดถูกซ่อนอยู่ในไฟล์ Microsoft Office – ในไตรมาสแรกของปี 2021 อัตรานี้ลดลงเล็กน้อยเป็น 34% แต่คาดว่าจะกลับมาสร้างสถิติใหม่อีกครั้งในระดับ 43% ในไตรมาสถัดไป

Microsoft Office มีผู้ใช้งานออนไลน์หลายสิบล้านคนต่อวันทั่วโลก ในขณะเดียวกันไฟล์เหล่านี้ก็ถูกใช้โดยอาชญากรไซเบอร์เพื่อกระจายมัลแวร์ และเป็นวิธีที่สามารถทำกำไรให้กับอาชญากรได้

ดังนั้นเพื่อหลอกล่อผู้ใช้งานให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ แฮ็กเกอร์จะสร้าง malicious macros ในไฟล์เอกสารของ Office และส่งไฟล์เหล่านี้ไปยังผู้ใช้งานผ่านอีเมล ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมีการเปิดไฟล์ ผู้ใช้งานมักจะถูกหลอกให้เปิดการใช้งาน macros ที่ Microsoft Office จึงทำให้เมื่อผู้ใช้งานเปิดไฟล์เอกสารที่ผู้โจมตีสร้างขึ้นจึงทำให้ malicious macros ที่อยู่ในเอกสารสามารถทำงานได้ทันที

นักวิจัยของ Atlas VPN ระบุว่าเกือบ 43% ของการดาวน์โหลดมัลแวร์ทั้งหมดถูกซ่อนอยู่ในไฟล์ของ MS Office ไฟล์แบบนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่ไม่หวังดี เนื่องจากสามารถหาวิธีหลบเลี่ยงการตรวจจับจากซอฟต์แวร์ antivirus ส่วนใหญ่ได้อย่างง่ายดาย

เป็นที่น่าสังเกตว่าการค้นพบของ Atlas VPN เป็นการอิงจากรายงานอื่นที่ชื่อว่า Netskope Threat Lab Cloud and Threat Report: July 2021 Edition ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จาก Office docs

ในงานวิจัยของ Netskope Threat Lab ได้ประเมินเอกสารจากแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ได้แก่ Google Docs และ ไฟล์ PDF ไม่ใช่แค่จาก Microsoft Office 365

ตามรายงานในไตรมาสที่สองของปี 2020 ประมาณ 14% ของมัลแวร์ที่สามารถดาวน์โหลดได้ ทั้งหมดถูกพบซ่อนอยู่ในที่ Office documents และไตรมาสที่สามของปี 2020 ร้อยละนี้เพิ่มขึ้นถึง 38% ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้งานที่ต้องทำงานจากที่บ้าน

ในไตรมาสแรกของปี 2021 อัตรานี้ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 34% แต่คาดว่าจะกลับมาสร้างสถิติใหม่อีกครั้งในระดับ 43% ในไตรมาสถัดไป

นักวิจัยระบุว่า EMOTET เป็นหนึ่งในมัลแวร์ที่อันตรายที่สุดที่พบในไฟล์ Microsoft Word และด้วยความพยายามร่วมกันของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก และบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้จัดการ EMOTET ได้ในปี 2021

แต่ EMOTET ไม่ได้หายไป เพราะตัวมันเป็นมัลแวร์ที่สามารถนำไปสู่ติดตั้งมัลแวร์ที่เป็นอันตรายชนิดอื่น เช่น ransomware, information stealers, trojans

อย่างไรก็ตามการวิจัยของ Trend Micro ยืนยันว่า EMOTET ยังคงถูกแพร่กระจายโดยเครื่องที่ยึดครองโดยผู้โจมตี (compromised) ตัวอย่างเช่น EMOTET มีความเกี่ยวข้องกับการโจมตีของ Trickbot และ Ryuk ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูล ransomware ที่โด่งดังที่สุด

ที่มา : hackread.

Ramsomware Group REvil จากรัสเซียกลับมาออนไลน์อีกครั้งหลังจากหายไป 2 เดือน

 

 

 

 

 

 

 

 

แฮ็กเกอร์ผู้พัฒนา REvil ransomware-as-a-service (RaaS) กลับมามีปฏิบัติการอีกครั้งหลังจากหายไปถึง 2 เดือน จากครั้งล่าสุดที่มีการโจมตีผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีรายใหญ่อย่างบริษัท Kaseya เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา

Portals ของ Dark Web สองแห่ง รวมถึง "Happy Blog" เว็ปไซต์ที่ใช้สำหรับแจ้งข้อมูลที่รั่วไหลออกมา เว็ปไซต์การชำระเงิน และเจรจาค่าไถ่ได้กลับมาออนไลน์อีกครั้ง โดยมีข้อมูลผู้เคราะห์ร้ายรายล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ซึ่งเป็น 5 วันก่อนที่ไซต์ดังกล่าวจะปิดตัวลงอย่างลึกลับในวันที่ 13 กรกฎาคม และยังไม่แน่ชัดว่า REvil กลับมาในปฏิบัติการ หรือว่าจะเปิดตัวการโจมตีครั้งใหม่

"โชคไม่ดีเลยที่ Happy Blog กลับมาออนไลน์แล้ว" นักวิจัยด้านภัยคุกคามของ Emsisoft นาม Erett Callow ทวีตไว้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

ความเคลื่อนไหวล่าสุดเกิดขึ้นในช่วง 2 เดือนต่อมาหลังจากการโจมตีด้วย Ransomware ด้วยวิธีการ Supply Chain Attack โดยมุ่งเป้าไปที่ Kaseya ซึ่งเห็นกลุ่มผู้โจมตีเข้ารหัสผู้ให้บริการ (MSPs) ราว 60 ราย และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 1500 แห่งโดยใช้ช่องโหว่ zero-day ในซอฟต์แวร์การจัดการระยะไกล Kaseya VSA

ในปลายเดือนพฤษาคม REvil ยังเป็นผู้นำในการโจมตี JBS ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดของโลกด้วย ทำให้บริษัทต้องจ่ายเงินค่าไถ่ 11 ล้านดอลลาร์ให้กับผู้โจมตีเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว

หลังเหตุการณ์การถูกโจมตี มีการตรวจสอบ และกดดันอย่างหนักจากหลายๆหน่วยงานทั่วโลกเพื่อจัดการกับวิกฤต ramsomware กลุ่มแฮ็กเกอร์ได้ปิดตัว Dark Web ลง ซึ่งคาดว่าอาจจะหยุดดำเนินการชั่วคราวโดยมีเป้าหมายเพื่อรีแบรนด์ภายใต้ตัวตนใหม่เพื่อทำให้เป็นที่สนใจน้อยลง

REvil หรือที่รู้จักกันในนาม Sodinokibi กลายเป็น ransomware สายพันธุ์ที่พบการรายงานบ่อยที่สุดอันดับ 5 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ซึ่งคิดเป็น 4.60% ของการโจมตีทั้งหมดในไตรมาสนี้ ตามสถิติที่รวบรวมโดย Emsisoft

ทีมา : thehackernews.

พบช่องโหว่ระดับร้ายแรงบน Azure App ที่ Microsoft แอบติดตั้งไว้บน Linux VMs

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Microsoft ได้กล่าวถึงช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 4 รายการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดต Patch Tuesday
ที่อาจจะถูกนำไปใช้ในการโจมตีโดยผู้ไม่หวังดี เพื่อกำหนดเป้าหมายไปยังลูกค้าที่ใช้บริการ Azure cloud และยกระดับสิทธิ์จนเข้ายึดระบบที่มีช่องโหว่เหล่านั้นได้จากระยะไกล

นักวิจัยจาก Wiz เรียกช่องโหว่พวกนี้รวมกันว่า OMIGOD ซึ่งช่องโหว่เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อ software agent ที่ชื่อว่า Open Management Infrastructure ซึ่ง Software Agent จะถูกติดตั้ง และเรียกใช้งานอัตโนมัติ โดยผู้ใช้งานไม่รู้ตัว

CVE-2021-38647 (CVSS score: 9.8) - Open Management Infrastructure Remote Code Execution Vulnerability
CVE-2021-38648 (CVSS score: 7.8) - Open Management Infrastructure Elevation of Privilege Vulnerability

CVE-2021-38645 (CVSS score: 7.8) - Open Management Infrastructure Elevation of Privilege Vulnerability

CVE-2021-38649 (CVSS score: 7.0) - Open Management Infrastructure Elevation of Privilege Vulnerability

Open Management Infrastructure (OMI) เป็นโอเพ่นซอร์สที่เทียบเท่ากับ Windows Management Infrastructure (WMI) แต่ออกแบบมาสำหรับระบบ Linux และ UNIX เช่น CentOS, Debian, Oracle Linux, Red Hat Enterprise Linux Server, SUSE Linux และ Ubuntu

ลูกค้า Azure บนเครื่อง Linux รวมถึงผู้ใช้บริการเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตี

Azure Automation
Azure Automatic Update
Azure Operations Management Suite (OMS)
Azure Log Analytics
Azure Configuration Management
Azure Diagnostics

 

 

 

 

 

 

 

 

 

"เมื่อผู้ใช้เปิดใช้งานบริการดังกล่าว OMI จะถูกติดตั้งอย่างเงียบๆ บนเครื่อง VM (Virtual Machine) ของพวกเขา โดยทำงานด้วยสิทธิพิเศษสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้" Nir Ohfeld นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Wiz กล่าว

"นอกเหนือจากลูกค้า Azure cloud แล้ว ลูกค้า Microsoft รายอื่นๆ จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากสามารถติดตั้ง OMI บนเครื่อง Linux ได้ และมักใช้ในองค์กร" Ohfeld กล่าวเสริม

เนื่องจาก OMI ทำงานเป็น Root ที่มีสิทธิ์สูงสุด ช่องโหว่ดังกล่าวอาจถูกโจมตีโดยผู้ไม่หวังดีจากภายนอก หรือผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ต่ำเพื่อรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลบนเครื่องเป้าหมาย และยกระดับสิทธิ์ของตนเอง และทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถใช้ประโยชน์จากการยกระดับสิทธิ์ในการติดตั้งการโจมตีอื่นๆอีกต่อไป

ช่องโหว่ 4 รายการที่สำคัญที่สุดคือช่องโหว่เรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลที่เกิดจากพอร์ต HTTPS ที่ถูกเปิดไว้ เช่น 5986, 5985 หรือ 1270 ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถที่จะเข้าถึง Azure ของเป้าหมายได้ และเริ่มเคลื่อนย้ายตนเองเข้าสู่เครือข่ายของเหยื่อ

"ด้วยแพ็กเก็ตเดียว ผู้ไม่หวังดีสามารถเป็น Root บนเครื่องจากระยะไกลได้โดยเพียงแค่ลบ Authentication Header มันง่ายมาก" "นี่เป็นช่องโหว่เรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลที่เราสามารถเห็นได้ในตำราเรียนตั้งแต่ในยุค 90 เป็นเรื่องผิดปกติอย่างมากที่ยังสามารถเห็นมันเกิดขึ้นกับ Endpoints นับล้าน ในปี 2021" Ohfeld กล่าว

OMI เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ Software Agent ที่แอบติดตั้งโดยผู้ใช้งานไม่รู้ตัว สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่า Software Agent เหล่านี้ไม่ได้มีเพียงใน Azure แต่ใน Amazon Web Services และ Google Cloud Platform ก็อาจมีเช่นเดียวกัน

คำแนะนำ

ในตอนนี้ Azure ไม่สามารถ Update OMI ให้ผู้ใช้งานที่ติดตั้ง Version ที่มีช่องโหว่ได้ แต่ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขได้โดยดาวน์โหลด Package Repository ของ Microsoft และดำเนินการ Update OMI โดย การติดตั้ง OMI Version ใหม่ รายละเอียดสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ใน

ที่มา : msrc.

New PIN Verification Bypass Flaw Affects Visa Contactless Payments

นักวิจัยค้นพบช่องโหว่ใหม่ที่สามารถ Bypass การตรวจสอบ PIN บนบัตรเครดิตแบบ Contactless ของ Visa

นักวิจัย ETH จากซูริคได้เปิดเผยถึงช่องโหว่การ Bypass การตรวจสอบ PIN ของบัตรเครดิตแบบระบบ Contactless ของ Visa ที่ช่วยให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถใช้บัตรเครดิตของเหยื่อที่ถูกขโมยหรือหายทำการซื้อสินค้าโดยปราศจากรหัส PIN ของบัตรบัตรเครดิต ณ จุด Point of sale (PoS)

จากการเปิดเผยของนักวิจัย ETH ช่องโหว่ที่พบนั้นอยู่ในโปรโตคอล EMV (ย่อมาจาก Europay, Mastercard, และ Visa) ซึ่งเป็นมาตรฐานโปรโตคอลสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการชำระเงินด้วยสมาร์ทการ์ด โดยผู้ประสงค์ร้ายสามารถทำการโจมตีแบบ man-in-the-middle (MitM) ผ่านแอป Android ด้วยการสั่งให้เทอร์มินัลไม่ต้องทำการตรวจสอบ PIN เนื่องจากมีการตรวจสอบผู้ถือบัตรด้วยการดำเนินการบนอุปกรณ์ของผู้ถือบัตร เนื่องจากได้รับการยืนยันแล้วจากอุปกรณ์ของผู้ใช้และจะดำเนินการหักเงินในบัตรของผู้ใช้ในขึ้นต่อไป

นอกจากช่องโหว่ที่ถูกเปิดเผยนี้นักวิจัย ETH ยังพบช่องโหว่ที่เกี่ยวข้องกับระบบ Contactless ของ Visa และบัตร Mastercard อีกช่องโหว่หนึ่งคือผู้ประสงค์ร้ายสามารถแก้ไขข้อมูลเฉพาะที่เรียกว่า "Application Cryptogram" (AC) ก่อนที่จะส่งไปยังเทอร์มินัล PoS โดยทั่วไปบัตรที่ทำธุรกรรมแบบออฟไลน์จะใช้เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการโดยตรงจากบัญชีธนาคารของผู้ถือบัตรโดยไม่ต้องใช้หมายเลข PIN แต่เนื่องจากธุรกรรมเหล่านี้ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบออนไลน์จึงมีความล่าช้า 24 ถึง 72 ชั่วโมงก่อนที่ธนาคารจะยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมโดยใช้การใช้ Cryptogram และจำนวนเงินที่ซื้อจะถูกหักออกจากบัญชี ผู้ประสงค์ร้ายสามารถใช้กลไกการประมวลผลที่ล่าช้านี้เพื่อใช้บัตรที่ทำการปลอมเเปลงทำธุรกรรมที่มีมูลค่าต่ำ ซึ่งกว่าธนาคารผู้ออกบัตรจะปฏิเสธธุรกรรมที่ใช้ Cryptogram ผิดพลาดผู้ประสงค์ร้ายก็ออกจากจุดที่ทำธุรกรรมแล้ว

นักวิจัย ETH กล่าวว่าช่องโหว่ที่ถุกค้นพบนั้นมีผลกระทบกับบัตรเครดิตแบบระบบ Contactless ของ Visa เช่น Visa Credit, Visa Debit, Visa Electron และ V Pay card ทั้งนี้ช่องโหว่ยังสามารถใช้กับบัตรที่ใช้โปรโตคอล EMV อย่าง Discover และ UnionPay ได้ด้วยอย่างไรก็ตามช่องโหว่ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อ Mastercard, American Express และ JCB ปัจจุบันนักวิจัยได้ทำการเเจ้ง Visa ให้ได้รับทราบถึงปัญหาแล้ว ส่วนรายละเอียดของช่องโหว่นั้นจะถูกนำเสนอในงาน IEEE Symposium on Security and Privacy ครั้งที่ 42 ที่จะจัดขึ้นในซานฟรานซิสโกในเดือนพฤษภาคมปีหน้า

ที่มา: thehackernews.